วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปรองดองด้วยกีฬา

ธวัชชัย จิตวารินทร์

วิทยาลัยชุมชนพังงา

เช้าวันนี้ได้ฟังรายการ มุมมองของเจิมศักดิ์ ผ่านทางสถานีวิทยุคลื่นหนึ่ง เป็นรายการที่ให้ข้อคิดดีๆ หลายๆ อย่าง ซึ่งวันนี้กล่าวถึงเจ้าปลาหมึกพอล ปลาหมึกสองสัญชาติ (เพราะจับได้ในน่านน้ำของประเทศอิตาลีแต่ไปอยู่ที่ประเทศเยอรมนี ) ที่สามารถทายผลการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2010ได้อย่างแม่นยำ จึงทำให้เป็นที่ต้องการตัวของเหล่าเซียนพนันทั้งหลาย แต่น่าเสียดายเพราะเจ้าพอลจะมีชีวิตต่อไปอย่างมากเพียง 1.5 - 2 ปี (โดยปลาหมึกมีอายุประมาณ 4 - 5 ปีเท่านั้น) และเมื่อกล่าวถึงเจ้าพอลและการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2010 ก็ทำให้ผมนึกถึงชายผิวดำคนสำคัญของประเทศแอฟริกาใต้ คนหนึ่ง คือ เนลสัน เมนเดลา (Nelson Rolihlahla Mandela) ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศแอฟริกาใต้ อดีตเคยเป็นผู้ถูกคุมขังในเรือนจำนานถึง 27 ปี เนื่องจากความไม่ยุติธรรมของนโยบายแยกคนต่างสีผิว และในระหว่างนั้นเขาไม่เคยย่อท้อโดยศึกษาแบบทางไกลกับมหาวิทยาลัยลอนดอนจนจบปริญญาตรีด้านกฎหมาย เขาถูกปล่อยตัวออกมาในปี พ.ศ.2533 จากนั้นก็ก้าวขึ้นเป็นผู้นำพรรคเอเอ็นซี ดำเนินการเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งอย่างเสรี ส่งผลให้เขาได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Prize) สาขาสันติภาพในปี พ.ศ. 2536 อีกหนึ่งปีต่อมาก็ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศแอฟริกาใต้ และปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถโดยเน้นนโยบายเกี่ยวกับการต่อต้านการเหยียดสีผิว

เนลสัน เมนเดลา มีกลยุทธ์เด็ดกลยุทธ์หนึ่งในการจัดการกับความขัดแย้งของการเหยียดสีผิวอย่างน่าสนใจ คือเขา ใช้กีฬารักบี้เป็นสื่อกลางในการทำให้เกิดความปรองดองของคนในชาติ เขาได้เดินทางแบบไม่มีกำหนดการมายังสนามแข่งขันรักบี้ เพียงเพื่อมาจับมือและให้กำลังใจกับนักกีฬาทีมชาติของตนอย่างจริงใจ ซึ่งนักกีฬาทีมชาติส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยคนผิวขาว และมีนักกีฬาเพียงคนเดียวเป็นชาวผิวดำ เพียงแค่นี้ก็ทำให้ประชาชนประเทศแอฟริกาใต้ก็เกิดความประทับใจในภาวะผู้นำของเขาอย่างมากที่สุดแล้ว ซึ่งจากการกระทำดังกล่าวทำให้เห็นว่า เนลสัน เมนเดลา ได้ให้ความสำคัญมากที่สุดกับสิ่งเล็กน้อยที่อยู่รอบตัวที่สามารถก่อให้เกิดพลังอันน่าอัศจรรย์ขึ้นได้ เรื่องราวดังกล่าวได้ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพยนตร์ เรื่อง Invictus (แปลเป็นภาษาไทยว่าเราจะไม่แพ้ ”) ซึ่งให้ข้อคิดและสาระต่างๆ ดีมาก เหมาะสำหรับผู้ชมทุกเพศทุกวัย

ดังนั้นถ้าผู้บริหารองค์กร หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะนำกลยุทธ์นี้ไปปรับใช้กับองค์กร เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดแรงขับเคลื่อนขององค์กร หรือหน่วยงานต่อไปได้ ผมว่าน่าจะดูภาพยนตร์เรื่องนี้ก่อนนะครับ

ในทัศนคติของผมเองก็มีเหตุผลสนับสนุน เนลสัน เมนเดลา ในการใช้กีฬาเป็นสื่อกลางของความปรองดองเช่นกัน ดังนี้

1. เมื่ออ้างทฤษฎีชาตินิยม แล้ว บุคคลที่อยู่ในประเทศชาตินิยม (ประเทศแอฟริกาใต้ก็เป็นประเทศชาตินิยมเหมือนกัน) ย่อมมีอุดมการณ์ที่สร้างและบำรุงรักษาชาติในลักษณะที่เป็นมโนทัศน์ แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มมนุษย์ ดังนั้นการที่ทีมชาติของตนจะลงสนามแข่ง แน่นอนว่าประชาชนในประเทศต้องมีการร่วมแรงร่วมใจ เพื่อส่งแรงเชียร์ทีมของตนเป็นแน่แท้ จึงถือว่าทีมชาติเป็นที่รวมแรงใจของประชาชนจำนวนมากในประเทศได้ เนลสัน เมนเดลา จึงสามารถเปลี่ยนแรงใจที่รวมกันอยู่ที่ทีมชาติ เป็นพลังของความปรองดองได้ โดยให้ความสำคัญกับนักกีฬา ซึ่งเปรียบเสมือนการยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว

2. ตามหลักวิทยาศาสตร์ มนุษย์จะมีการหลั่งสารชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสาร แห่งความสุข คือ สารเอ็นโดฟินส์ (Endophins) เมื่อร่างกายมีความสุขหรือเกิดความสนุกสนาน เช่น การที่ประชาชนชนร่วมกันเชียร์กีฬา หรือ ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอย่างมีความสุข และสนุกสนาน ซึ่งเมื่อร่างกายหลั่งสารดังกล่าว ก็จะทำให้คนยิ้มแย้ม อารมณ์ดี โดย David, Keith (1977) ผู้แต่งหนังสือ เรื่อง Human Behavior at Work กล่าวว่า มนุษย์ชอบคนยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้กลไกการเกิดปฏิสัมพันธ์กันทางสังคม (Interaction) เกิดได้ง่ายยิ่งขึ้น

3. จากทฤษฎีจิตวิทยาของสกินเนอร์ (นักจิตวิทยา) พบว่า เมื่อมีการเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement) จะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่บุคคลทำสิ่งใด สิ่งหนึ่งตามวาระและโอกาสที่สำคัญได้ เช่นเดียวกับการกระทำของเนลสัน เมนเดลา ซึ่งเป็นการเสริมแรงทางบวก ที่ส่งผลให้ประชาชนเกิดกำลังใจ และเกิดความร่วมมือร่วมใจอย่างเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่ากีฬาใช้เป็นสื่อกลางที่สามารถก่อให้เกิดความปรองดองของคนในประเทศได้ นั่นคือ ประเทศสเปน ที่มีข่าวความขัดแย้งเพื่อแบ่งแยกดินแดงอย่างหนาหู แต่หลังจากเป็นแชมป์ฟุบอลโลกปี 2010 ข่าวคราวนี้ได้เงียบลง ซึ่งนั่นอาจจะแสดงให้เห็นถึงประชาชนเกิดความร่วมแรงร่วมใจ และเกิดความปรองดองขึ้นภายในประเทศ

ดังนั้นหากองค์กร หรือหน่วยงานใดต้องการให้เกิดความปรองดอง ร่วมมือร่วมใจ กลยุทธ์การใช้กีฬาเป็นสื่อกลางน่าจะเป็นอีกกลยุทธ์ที่ใช้ได้ดีเลยทีเดียว หากนำไปใช้แล้วได้ผลอย่างไร ก็นำมาแลกเปลี่ยนกันที่ http://tum-pngcc.blogspot.com ได้ครับ


ร่วมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Let’s SHARE เพิ่มเติมได้ที่

http://tum-pngcc.blogspot.com/



3 ความคิดเห็น:

  1. กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลส ทำคนให้เป็นคน ฯ แต่เดี๋ยวนี้ สังคมเปลี่ยนไป คนมองกีฬาเป็นกีฬานั้นเริ่มน้อยลง โดยเอากีฬาเป็นเครื่องกำบัง เป็นข้ออ้าง โดยเฉพาะการพนัน เพราะเดี๋ยวนี้มีกีฬาก็ต้องมีพนัน แม้บางคนจะบอกว่าเล็กน้อยเพื่อเพิ่มสีสัน แต่มันก็จะติดตัว และจะติดพนันในที่สุด บางท่่านอาจมองว่า มองโลกในแง่ร้ายไปหรือเปล่า แต่...ลองเปิดใจดูสักนิดว่าจริงแท้าแค่ไหน แม้ข้าวสักมื้อก็ถือเป็นการพนันแล้วครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ15 กรกฎาคม 2553 เวลา 06:47

    ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันครับ ทำให้เกิดแนวคิดเพิ่มเติมครับ แม้นศรี

    ตอบลบ
  3. กีฬาเป็นยาวิเศษ คนไทยมีความสามารถมากนะ แต่ยังขาดการสนับสนุนที่จริงจัง ถ้าให้การสนับสนุนที่มากกว่านี้อีกนิดเชื่อว่ากีฬาไทยไปสู่เวทีโลกได้แน่นอน

    ตอบลบ

คิดเห็นแบ่งปัน (Let's SHARE)